Logo

Location สถานที่ตั้ง

88/1 ซอยอินทามระ 22 แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพ

phone (+66)2 277 9115-6

ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่

TH EN

ความรู้ด้านสุขภาพ

 

การกระตุ้นสมองด้วยกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน ( Transcranial Direct Current Stimulation : TDCS )

ประโยชน์ของ TDCS

- รักษาอาการอัมพาตจากสาเหตุในสมองเช่น เส้นเลือดสมองตีบ ทำให้อาการอ่อนแรงดีขึ้น การพูดดีขึ้น กลืนอาหารลำบากน้อยลง เป็นต้น ถ้ากระตุ้น TDCS ร่วมกับการทำกายภาพร่างกาย จะทำให้การฟื้นฟูหายเร็วขึ้น
- โรคซึมเศร้า
- รักษาอาการปวดอันเกิดจากระบบประสาท เช่น ปวดจากเส้นประสาท( Neuropathic pain) , ปวดกล้ามเนื้อคอเรื้อรัง( Myofascial pain syndrome) , ปวดกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเรื้อรัง ( Fibromyalgia)
- โรคลมชัก
- ภาวะเสียงในหู (tinnitus)
- โรคพาร์กินสัน
- โรคกล้ามเนื้อเกร็งตัวผิดปกติ (dystonia)
- ภาวะความจำบกพร่อง -

ผลข้างเคียงของ TDCS

การกระตุ้น TDCS ถือว่ามีความปลอดภัยสูงมาก ยังไม่เคยมีรายงานถึงผลข้างเคียงอันตรายใดๆต่อสมอง ผลข้างเคียงที่เจอบ่อยๆเป็นเพียงความรู้สึกที่ผิวหนังที่ถูกกระตุ้นมีการระคายเคือง เหมือนเข็มเล็กๆทิ่ม เหมือนไฟดูดอ่อนๆ อาจมีผิวหนังแดงบริเวณที่กระตุ้น อาจเห็นแสงแวบๆ (Phosphene) บ้างเล็กน้อย

โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease: GERD)

พบได้ตั้งแต่เด็กทารกไปจนถึงผู้ใหญ่ เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร อาจทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอกหรืออาการขย้อนจนรบกวนชีวิตประจำวันได้

อาการโรคกรดไหลย้อน

- อาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก ซึ่งจะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก
- มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก
- ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร
- เจ็บหน้าอก จุกคล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณคอ
- หืดหอบ ไอแห้งๆ เสียงแหบ เจ็บคอ
- ในเด็กเล็ก อาการที่ควรนึกถึงโรคนี้ ได้แก่ อาเจียนบ่อยหลังดูดนม โลหิตจาง น้ำหนักและการเจริญเติบโตไม่สมวัย ไอเรื้อรัง หืดหอบในเวลากลางคืน ปอดอักเสบเรื้อรัง

แนวทางการรักษาโรคกรดไหลย้อน

- การรับประทานยา เช่น ยาเคลือบกระเพาะอาหาร ยาลดกรด
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ รวมถึงเครื่องดื่มและอาหารที่มีรสจัด
- ระวังน้ำหนักร่างกายไม่ให้เกินมาตราฐาน โดยหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่ควรรับประทานอาหารแล้วนอนทันที ควรเดินหรือขยับร่างกายอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

 

การส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Gastroscope)

เพื่อการวินิจฉัยโรคในหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เช่น มีการอักเสบ เป็นแผล มีเนื้องอก หรือมีการตีบตันของอวัยวะเหล่านี้

ข้อบ่งชี้ในการส่องกล้องกระเพาะอาหาร

ผู้ที่อาการกลืนอาหารลำบาก กลืนแล้วมีอาการเจ็บ มีอาเจียนเป็นเลือด มีอาการปวดท้องจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ เป็น ๆ หาย ๆ อยู่บ่อย หรือรับประทานยารักษากระเพาะอาหารอักเสบ แต่อาการไม่ทุเลาหรือมีน้ำหนักลด ท้องเสียเป็นประจำ

การส่องกล้องลำไส้ (Colonoscope)

ประโยชน์ของการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่

1. ใช้ในการประเมินปัญหาที่เกิดขึ้นกับลำไส้ใหญ่ เช่น การเสียเลือด ความเจ็บปวด และอาการเปลี่ยนแปลงของลำไส้ใหญ่ เช่น ท้องเสียเรื้อรัง หรืออาการผิดปกติอื่นๆ
2. บ่งชี้ให้แพทย์ทราบและช่วยในการรักษาอาการเลือดออกในลำไส้ใหญ่
3. ใช้ในการตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่และช่วยในการรักษาก้อนเนื้องอกแบบที่ไม่ใช่มะเร็ง (polyps) ที่เจริญเติบโตขึ้นที่บริเวณผนังลำไส้ใหญ่

ข้อบ่งชี้ในการส่องกล้องลำไส้ใหญ่

1. มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระ เช่น ท้องผูก หรือท้องเสียเป็นประจำ หรือท้องผูกสลับท้องเสีย
2. ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน อาจจะเป็นสีแดงสดหรือสีคล้ำ มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
3. เวลาเบ่งถ่ายอุจจาระมีติ่งเนื้อยื่นออกมาจากทวารหนักและมีเลือดออก
4. มีการแน่นอึดอัดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้องร่วมด้วย
5. มีก้อนในท้อง น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย
6. ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจทางทวารหนักโดยการส่องกล้องทุกๆ 3-5 ปี

 

การฉีดโบท็อกซ์

บริเวณที่นิยมเข้ารับการฉีดโบท็อกซ์ ได้ แก่ หางตา หน้าผาก ระหว่างคิ้ว เพื่อแก้ไขรอยย่น นอกจากนี้การฉีดโบท็อกซ์ ยัง ช่วยในส่วนของการ “ปรับรูปหน้า” และ “ลดกราม” การฉีดโบท็อกลดกราม จะช่วยให้ กล้ามเนื้อตรงส่วนกรามเล็กลง รูปหน้าก็จะเรียวขึ้น

ฉีดโบท็อกซ์ อันตรายหรือไม่ ?

คนไข้บางรายอาจจะมีอาการปวดและมีรอยช้ำบริเวณที่ฉีด หรือปวดศีรษะซึ่งก็จะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว และจะหายไปได้เองเมื่อเวลาผ่านไป

ฉีดโบท๊อกซ์ ช่วยเรื่องอะไรได้บ้าง

สำหรับการฉีดโบท๊อกซ์ สามารถช่วยแก้ปัญหาได้หลายจุดบนใบหน้า อาทิเช่น

1. สามารถช่วยในการลดริ้วรอย จะออกฤทธิ์เห็นผลภายใน 3-7 วัน
2. การฉีดโบท๊อกซ์เพื่อปรับรูปหน้า จะเห็นผลภายใน 1-2 เดือน มีผลให้กล้ามเนื้อเล็กลง
3. ฉีดโบท๊อกซ์เพื่อฟื้นฟูผิว โดยการฉีดโบท๊อกซ์ร่วมกับคอลลาเจน การรักษาด้านความงามทางการแพทย์จะใช้โบทอกในปริมาณ 100-200 ยูนิต ในการฉีดแต่ละครั้ง ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาว

การฉีดโบท๊อกซ์ ใช้เวลาแค่ 5-10 นาทีต่อจุด และเมื่อฉีดเสร็จแล้ว คนไข้ก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องพักฟื้น

ลดอาการปวดด้วยการฝังเข็มแบบอเมริกา (Xylocaine injection)

โรคปวดกล้ามเนื้อเป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก ซึ่งนิยามของโรคนี้ คือ กลุ่มอาการปวดจากปมกล้ามเนื้อหดตัวซึ่งเป็นบริเวณที่ขาดเลือดไปเลี้ยงและแสดงอาการปวดออกมาเฉพาะแบบตามแต่กล้ามเนื้อนั้นๆ และทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีอาการชา รวมถึงระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ เช่น เวียนศีรษะ ตาพร่ามัว ตาแดง น้ำตาไหล

การรักษา คือ การฉีดยาชาเฉพาะจุดไปที่บริเวณกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Xylocaine injection)

แนวทางการแก้ไข

1. การปรับท่าทางที่ถูกต้องในการทำงาน ปรับโต๊ะ เก้าอี้ที่ทำงาน
2. หาวิธีกำจัดความเครียด ฝึกผ่อนคลาย
3. การแบ่งงานเป็นกะ ไม่ทำงานหักโหมเกินไป
4. การออกกำลังแบบแอโรบิก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และเป็นการผ่อนคลาย เช่น กล้ามเนื้อบริเวณบ่าไหล่ หลังส่วนบน
5. การทำกายภาพบำบัด เพื่อรักษาต้นเหตุของโรคบางกลุ่ม เช่น การดึงคอ ดึงหลังในกลุ่มโรคหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท (อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความเรื่อง กลุ่มโรคจากการทำงาน : office syndrome)

 

การส่องกล้องกระเพาะอาหาร (Gastroscope)

ตับอักเสบบี คือ

การอักเสบของเซลล์ตับ อันเกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี (HBV)การอักเสบจะทำให้เซลล์ตับตาย หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้

การติดต่อ

1. การสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย
2. การถ่ายทอดจากมารดาที่ติดเชื้อสู่ทารก
3. การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ โดยไม่ได้ป้องกัน
4. การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การสัก เจาะหู หรือการฝังเข็ม โดยอุปกรณ์ที่ผ่านการฆ่าเชื้อไม่ถูกต้อง

อาการ

1. อาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด
2. คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลด
3. จุกแน่นใต้ชายโครงขวาจากตับโต
4. ปัสสาวะเข้ม ตาเหลือง อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นในเวลา 2-3 สัปดาห์ และร่างกายจะค่อยๆ กำจัดไวรัสตับอักเสบบีออกไปพร้อมๆ กับการสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีซ้ำอีก
5. ผู้ป่วยร้อยละ 5-10 อาจโชคไม่ดี ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้ เกิดการติดเชื้อเรื้อรัง

การป้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อไวรัสตับอักเสบบี

1. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล และไขมัน
2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ไม่หักโหม
3. ควรงดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะทำให้ตับถูกทำลายมากขึ้น
4. อัลตร้าซาวด์ และตรวจสุขภาพประจำปี
5. งดอาหารที่มีสารอัลฟาท็อกซิน เช่น ในถั่วลิสง พริกป่น เป็นต้น
6. ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

Loactaion

VMC address

88/1 ซอยอินทามระ 22 แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400

 

Phone

ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่

Tel : (+66)2 277 9115-6

Hotline VMC : 082 017 8007

Hotline กายภาพ : 091 491 0444